วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เจ็บฝ่าเท้าทำไงดี



เจ็บฝ่าเท้าทำไงดี
อย่าว่าเท้าก็แค่เท้า...เจ็บขึ้นมา..ไปทำมาหากินกันไม่ได้เชียวนะคะ วันนี้มีเรื่องเกี่ยวกับเจ็บฝ่าเท้ามาฝากค่ะ
เจ็บฝ่าเท้าตรงส้นอาการนี้ ใครไม่เป็นเองจะไม่รู้ว่ามันทุกข์ทรมานและบั่นทอนความสุขในชีวิตเพียงใด
"พ่อกะลูกเขาจะไปเที่ยวกัน เราก็ไปกะเขาไม่ไหว"
"ไปจ่ายตลาดไม่ได้มา5วันแล้ว ต้องสั่งกับข้าวร้านข้างบ้านมากิน แฟนบ่นทุกวัน"
ถ้อยคำทำนองนี้จากปากผู้ที่มีปัญหาเจ็บส้นเท้า เป็นเรื่องพบได้เสมอ

ทำไมถึงเกิดเจ็บส้นเท้า?
มารู้จักฝ่าเท้ากันก่อน

เท้าประกอบกันขึ้นมาจากกระดูกเท้า ที่เชื่อมโยงติดกันด้วยกล้ามเนื้อและเยื่อยึดกระดูก
ใต้กระดูกเท้ามีกล้ามเนื้อและแผ่นPlantar fasciaเกาะอยู่
เท้ามีเส้นประสาทที่วิ่งจากช่องกระดูกสันหลังแถวเอวลงมารับรู้ความรู้สึก
เพื่อปกป้องเราจากอันตรายต่างๆ เช่น เหยียบไฟร้อนๆ หรือของแหลมคม
ก็จะรายงานไปยังสมองให้สั่งเราให้ชักเท้าหนี เป็นต้น
ที่มา:http://www.info-on-heel-pain.com/Images/plantar-fascia-pain-area.jpg
การเจ็บส้นเท้า มีสาเหตุได้ทั้งจากสิ่งที่มาประกอบกันเป็นเท้าได้รับอันตราย
หรือเกิดจากตัวเส้นประสาทได้รับอันตรายหรือถูกบีบรัดหรือถูกกดเบียดไว้ก็ได้

โดยทั่วไปปัญหาเจ็บส้นเท้ามักเริ่มจากการที่กล้ามเนื้อTibialis posterior(TP)
ไม่คลายตัว อาจจะจากการเล่นกีฬา การต้องยืน หรือเดินต่อเนื่องกันนานๆโดยไม่ได้หยุดพักให้พอ
ทำให้จุดเกาะของกล้ามนี้ที่เท้าเกิดการอักเสบขึ้น

ถ้าถามว่าทำไมก่อนหน้านั้นไม่เจ็บ
การกระตุ้นให้เกิดอาการมีค่ะ
จุดเปลี่ยนจากร่างกายทนได้ มาเป็นเจ็บ ต้องมีการสะสมปัญหากล้ามตึงสุดๆอยู่แล้วมาก่อน
แล้วเกิดมีวันหนึ่ง ต้องไปอบรม ต้องขนกระเป๋าหนักๆหลายใบ
แม้มีล้อลาก เวลาขึ้นลงบันไดก็ต้องยก เหลียวหน้า เหลียวหลังจะให้ใครช่วย ทุกคน..ก็เหมือนกัน..(ต่างมองหาคนช่วย)
สุดท้ายก็ต้องกัดฟันยก ยก ยกกันจนถึงที่
หรือไปจ่ายตลาด น้ำหนักของที่เพิ่มมาทีละถุงๆๆๆ รวมแล้วไม่เบานะคะ
หรือคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มแล้วต้องยืนกันนานๆ (อย่างในคนอาชีพครู ช่างเสริมสวย)
เหล่านี้ ทำนองนี้ คือจุดเปลี่ยนที่ว่า


ที่มา:http://www.e-marketingpartner.com/clients/FootAnkleCenter/images/manPain.JPG
เมื่อเจ็บบบบบ...คนก็ไม่กล้าลงน้ำหนักที่ส้น
เวลายืน เดิน ก็ใช้วิธีเขย่งยกส้นเท้าลอยให้พ้นพื้นไว้

ผลที่ตามมา จากการเดินแบบที่ว่านี้
1.กล้ามที่ว่า(Tibialis posteriorหรือTP)จะยิ่งหดตัวตึงรั้งขึ้นไปที่น่องมากขึ้น
และทุกๆก้าวที่เดิน แผ่นPlantar fasciaก็จะถูกรั้งตัวซ้ำๆ
ย้ำให้เกิดการระคายเคืองตรงที่เกาะของมันที่ตรงกระดูกส้นเท้า ที่มีเส้นประสาทพาดอยู่
บ่อยเข้าก็อักเสบขึ้น คราวนี้จะเจ็บตรงส้น มาถึงเอ็นร้อยหวายที่ด้านหลังส้นเท้าขึ้นมา
(การอักเสบนั้นเป็นได้ทั้งที่เนื้อเยื่อ และที่เส้นประสาท)

ที่มา:http://www.myfootshop.com/images/medical/ortho/plantar_fasciitis_small.jpg

2.หากมีแคลเซี่ยมมาเกาะเพื่อล็อครอยอักเสบตรงส้นไม่ให้ลามต่อไป
แคลเซี่ยมที่หนาตัวขึ้นก็จะกลับกลายเป็นก้อนแข็งที่มาจำกัดการเคลื่อนไหว
และอาจเลยเถิดไปทำให้เนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่ข้างเคียงอักเสบระคายเคืองได้อีก
(เวลาX-raysจะเห็นเป็นรอยแหลมยื่นลงมาจากกระดูกส้นเท้า ที่เรียกว่าspur)
ที่มา:http://www.ankleshop.com/db_images/heelspur.jpg

3.การเดินลงน้ำหนักในขาทั้ง2ไม่เท่ากัน ทำให้เสียสมดุลย์ซ้ายขวาของร่างกาย
อาจมีอาการเจ็บเอว เจ็บก้น เจ็บตรงโคนขา หรือเจ็บที่เข่า ตามมาได้ทั้งนั้น
การแก้ปัญหาเจ็บฝ่าเท้าด้วยตนเอง
ที่มา:https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh8411rqu8NGb_U_WTTV03wk-zwXIqgMVWhL8peqWQupWMpMbg5UIy-7633iLXrVVjZydycK2ckzuECnQGnT09Uc_c_eiy5y7Yr7L7u0hNvC9-go5un2PE4-EikznrrNKiAeYh2PjwVYIU/s400/xplanfas.gif
ภาพนี้จัดเป็นคัมภีร์ดูแลเท้าด้วยตนเอง
ที่คนไม่เจ็บเท้าก็ใช้สร้างความสบายให้ตนเองได้ค่ะ
ภาพแถวบนสุด
ภาพทางซ้าย เป็นท่ายืดกล้ามด้านหลังต้นขา น่อง และฝ่าเท้าค่ะ
โดยใช้ผ้าผืนยาวพอประมาณ คล้องตรงฝ่าเท้าส่วนที่ถัดจากนิ้วเท้าเข้ามา
แล้วดึงเข้าหาตัว ทำซ้ำได้เรื่อยๆไม่จำกัดจำนวนครั้ง (คนทำงานออฟฟิศ มีปัญหากล้ามหลังต้นขาตึงกันมาก ใช้ท่านี้เลยค่ะ)
ส่วนท่าด้านขวา เป็นโน้มตัวดันกำแพง
ขาที่อยู่ด้านหลังจะได้รับการยืดน่องและยืดหน้าข้อพับตรงโคนขา

ภาพแถวที่ 2
ที่ริมซ้ายสุด คนนี้กำลังยืดเยื่อใต้ฝ่าเท้าซ้าย 
โดยเกาะราวบันไดไว้ดีๆ แล้วใช้ฝ่าเท้าขูดกับขอบขั้นบันได
รีด รีด รีด จนพอใจค่ะ สำหรับคนที่ต้องการความสบาย(ไม่ต้องไปจ้างเขานวดฝ่าเท้า)
ส่วนคนที่เจ็บฝ่าเท้าก็รีดเบาๆ ทีละ10 ครั้งก่อน แล้วค่อยๆเพิ่มจำนวนครั้งขึ้นตามที่ทนได้
3ภาพถัดมาทางขวา ในบันทัดนี้
เป็นการฝีกการทรงตัว(Balance) มี 2 แบบ
Staticคือยืนบนขาเดียวที่มีปัญหา หรือขาที่ต้องการฝึก ยืนนิ่งๆ เพื่อฝึกความมั่นคงขณะยืน
Dynamicคือยืนบนขาเดียวที่ต้องการฝึก แล้วย่อ หรือโยกตัวเคลื่อนไหวด้วย
เนื่องจากในชิวิตจริง เราต้องใช้งานกล้ามเนื้ออย่างนี้อยู่เสมอๆ มากกว่ายืนนิ่งๆ


ภาพแถวที่ 3
ภาพซ้ายสุด ฝึกกล้ามฝ่าเท้าให้แข็งแรง คล่องตัว ไม่ปวดเท้าง่าย
ทำแล้วอุ้งฝ่าเท้าจะมีกำลังดี เท้าไม่แบนราบลงมา(คนเท้าแบนจะปวดในอุ้งเท้าตลอด)
ง่ายๆ ใช้ฝ่าเท้าขยุ้มผ้าเล่น จนหยิบยกขึ้นจากพื้นได้
ภาพกลาง คลึงนวดฝ่าเท้าด้วยแท่งทรงกระบอก
กระป๋องอะไรก็ได้ที่ไม่แตกบาดเท้า หรือเป็นท่อนไม้ หรือจะเป็นกะลาคว่ำก็ได้ บางที่ใช้ก้อนกรวดมนๆ ก็มี
คนที่กำลังเจ็บฝ่าเท้าจะใช้กระบอกใส่นำในตู้เย็นที่กำลังเย็นจัดๆ มากลิ้งก็ได้เลยค่ะ
(ประคบเย็นไปด้วย)
ภาพขวา ท่านี้เพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อมิให้ปลายเท้าตกเวลาเดิน
โดยการการกระดกข้อเท้าขึ้น
(งัดให้เท้ากระดกเข้าหาตัว)ต้านกับยางยืด
โดยมัดอีกปลายของยางไว้กับที่ยึด ที่อยู่ทางปลายเท้าออกไป(ให้ใครตรึงไว้ให้ก็ได้ค่ะ)
สุภาพสตรี ที่ใส่ส้นสูงตลอด กล้ามนี้จะอ่อนแอมาก รวมทั้งน่องก็หด กล้ามด้านหลังขาทุกช่วงก็หด
ควรทำท่านี้เป็นประจำอย่างยิ่ง มิฉะนั้นท่านจะหนีปัญหาเจ็บฝ่าเท้าเรื้อรังไม่พ้น
ไม่ได้แช่งนะคะ แต่เป็นเรื่องของสรีระร่างกายที่ไม่มีการระแวดระวัง
รู้แล้วควรรีบปรับค่ะ

ภาพแถวที่ 4
เป็นท่าเพิ่มกำลังกับยางยืดเช่นกัน
ภาพซ้าย คล้องยางกับเท้าส่วนถัดจากนิ้วเท้าเข้ามา ดึงยางเข้าหาตัว แล้วถีบเท้าลง
ทำ20-30ครั้ง ก็จะช่วยเพิ่มกำลังกล้ามเหยียดเท้า
เหยียบคลัช เหยียบเบรค ก็สบาย ไม่ต้องยกกันทั้งขา
ภาพกลางนี่ เป็นท่าเพิ่มกำลังบิดฝ่าเท้าซ้ายเข้าด้านในต้านกับยางภาพนี้ดูยากนิด
โดยคล้องบ่วงที่ปลายหนึ่งของยางยืดกับเท้าซ้าย จับอีกปลายของยางยืดให้เหไปด้านขวา
แล้วเอาขาขวาพาดคร่อมมาเหยียดยางข้างๆบ่วงให้ยานไปทางซ้าย
(เป็นเหมือนรอกทดกำลัง)
จากนั้นก็บิดหันฝ่าเท้าซ้ายเข้าในกันเลย
คนที่ส้นรองเท้าสึกด้านใน ต้องทำท่านี้เยอะๆ
แล้วท่านจะเดินสบายขาขึ้นด้วย รวมทั้งอาการเจ็บที่เอวจะลดลง
ภาพขวา สุดท้าย เป็นการบิดเท้าซ้ายออกด้านนอกต้านยางยืด
ก็รีบบอกก่อนเลยว่าคนที่ส้นรองเท้าสึกด้านนอก ต้องทำท่านี้เยอะๆ
วิธีการก็คล้องบ่วงที่ปลายหนึ่งของยางยืดกับเท้าซ้าย
แล้วพาดยางมาผ่านฝ่าเท้าขวา ดึงอีกปลายของยางยืดด้วยมือขวา
แล้วบิดหันฝ่าเท้าซ้ายออกด้านนอก
และเช่นกัน ท่านจะเดินสบายขาขึ้นด้วย รวมทั้งอาการเจ็บที่เอวจะลดลง


ขอบคุณทีี่มาจากhttp://www.oknation.net/blog/physicaltherapyfreestyle/2009/10/18/entry-1#.UIf0IjOfoZM.facebook

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น