วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วย

กิจกรรมให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง แก่ผู้ป่วยแผนกตรวจโรคผู้ป่วยนอก รพ.รร.จปร.ของนักศึกษากายภาพบำบัดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเลิมพระเกียรติ
วันที่ 30 มี.ค.54 ณ แผนกตรวจโรคผู้ป่วยนอก รพ.รร.จปร.
กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติเรื่องการปฏิบัติตนเองและการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน,ความดันโลหิตสูง
2.เพื่อให้ผู้ปวยได้รับการดูแลและสร้างพลังแก่ชุมชนในกาดูแลตนเอง

.

จากแผนกกายภาพบำบัด รพ.รร.จปร
พ.ต.หญิงสมลักษณ์ ปรุงปรีชา

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

มารู้จักห้องกายภาพบำบัด รพ.รร.จปร.

 
 
 
ห้องกายภาพบำบัดรพ.รร.จปร.
 
 

สวัสดีครับวันนี้เรามารู้จักห้องกายภาพบำบัด รพ.รร.จปร.กันนะครับ!! ห้องกายภาพบำบัด รพ.รร.จปร.ลักษณะงานให้บริการของหน่วยงาน
หน่วยงานห้องกายภาพบำบัด กองศัลยกรรมและสูตินรีเวชกรรม รพ.รร.จปร. มีหน้าที่ให้บริการด้านการตรวจ รักษา ส่งเสริม ป้องกันและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยด้วยเครื่องมือและวิธีการทางกายภาพบำบัดตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยเน้นการให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพ ผู้รับบริการได้รับบริการอย่างมีคุณภาพและความปลอดภัย

พันธกิจของหน่วยงาน
การให้บริการที่มีมาตรฐาน ผู้รับบริการปลอดภัย เน้นใส่ใจบริการ

การให้บริการรวมถึงจุดเด่นของงานบริการหน่วยงาน
-ให้บริการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัดแก่ผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อ โรคทางอายุรกรรม และศัลยกรรม โรคระบบทางเดินหายใจ ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ทั้งนี้ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์และส่งปรึกษาทางกายภาพบำบัด
-ให้ความรู้สุขศึกษาสำหรับผู้ป่วยและญาติเป็นรายบุคคลและเป็นรายกลุ่ม
-ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้านร่วมกับทีมส่งเสริมสุขภาพ
บรรยากาศภายในห้อง นะครับ!!
สายการบังคับบัญชา
ห้องกายภาพบำบัด รพ.รร.จปร.


พ.ต.สุทธิพันธ์  ขอสุข
หน.แผนกศัลยกรรม รพ.รร.จปร. ปฏิบัติหน้าที่
หก.กองศัลยกรรม รพ.รร.จปร.

พ.ต.หญิงสมลักษณ์ ปรุงปรีชา
ประจำแผนก รพ.รร.จปร. ปฏิบัติหน้าที่
นักกายภาพบำบัด รพ.รร.จปร.

เจ้าหน้าที่ห้องกายภาพบำบัด
จ.ส.อ.อนุรักษ์ แจ้งจิตติ์
นายสิบพยาบาลห้องกายภาพบำบัด
นายจารุวัฒน์ ฉลาดยิง
พนักงานผู้ช่วยกายภาพบำบัด
 นางวนิดาแช่เอี้ยว
พนักงานผู้ช่วยกายภาพบำบัด


เครื่องมือทางกายภาพบำบัด
1. ชุดรอกและน้ำหนักบริหารไหล่ ศอก หน้าอก แบบดูแพล็ก
2. เตียงดึงคอและเชิงกรานแบบสองตอน
3. เตียงออกกกำลังกายด้วยวิธีแขวนพยุง
4. โต๊ะบริหารขาและข้อเข่าแบบเฮฟวี่บิวตี้
5. บาร์คู่ขนานสำหรับฝึกเดินปรับระดับได้
6. เครื่องมือฟื้นฟูสภาพกล้ามเนื้อ
7. หม้อต้มแผ่นให้ความร้อนแบบเคลื่อนที่ได้
8. เครื่องดึงคอและหลังอัตโนมัติ รุ่นแอลแทรก 471
9. เครื่องรักษาทางกายภาพบำบัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง Sonoplus 590
10. จักรยานตั้งตรง
11. อุปกรณ์ประกองเครื่องดึงคอดึงหลังอัตโนมัติ
12. ถังน้ำวนแบบแช่แขน
13. เครื่องบำบัดด้วยกระแสไฟฟ้าและเครื่องอัลตร้าซาวด์ Fysiomed
14. วงรอบบริหารไหล่- แขน
15. บาร์แบบตั้งสำหรับบริหารร่างกาย
16. เครื่องอบความร้อนด้วยคลื่นสั้น
17. ถังแช่พาราฟิน ขนาด 28 ลิตร
18. เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อและระบบประสาทด้วยกระแสไฟฟ้าความถี่ต่ำ ( Electrical Stimulator )
19. เครื่องรักษาอวัยวะด้วยคลื่นเสียงชนิดตั้งโปรแกรมใช้งานล่วงหน้า
20. ลู่วิ่งไฟฟ้าพร้อมชุดวัดอัตราการเต้นของหัวใจ
21. จักรยานทดสอบสมรรถภาพแบบนั่งปั่น

การรักษาที่มีให้การรักษาสำหรับผู้ป่วย

1.การประคบร้อนด้วยแผ่นประคบร้อน

2.การรักษาด้วยเครื่องอัลตร้าซาว์ด

3.การรักษาด้วยคลื่นสั้น

4.การรักษาด้วยเครื่องดึงคอ-ดึงหลัง

5.การรักษาด้วยการดัดดึงข้อต่อด้วยวิธีการmobilization

6.การหัดเดิน

7.การออกกำลังกายเพื่อการรักษา ให้เหมาะสมกับโรค เช่น โรคข้อเข่าเสื่อมควรออกกำลังกายแบบใด ไม่ควรวิ่งเพราะมีการกระแทกต่อเข่าที่เสื่อม

การรักษายังมีอีกมากมาย ทั้งนี้การยริการรักษาต่าง ๆต้องได้รับการตรวจจากแพทย์ ส่งปรึกษากายภาพบำบัด แล้วนักกายภาพบำบัดของเราจะตรวจประเมินผู้ป่วยแล้วค่อยวางแผนการรักษา จึงจะรักษาได้นะครับ แต่ยังไงห้องกายภาพบำบัดยินดีที่จะให้คำปรึกษานะครับเวลาทำการ (วันไหนบ้าง ช่วงเวลาใด)
ขั้นตอนการให้บริการห้องกายภาพบำบัด กองศัลยกรรม รพ.รร.จปร.
1.ขึ้นบัตรตรวจโรค หรือบัตรนัด ที่แผนกเวชระเบียนก่อนมารับบริการเพื่อตรวจสอบสิทธิการรักษาก่อนทุกครั้ง
เปิดรับบริการและรับบัตรนัด
เวลาราชการ วันจันทร์ - วันศุกร์
-เวลาเช้า ตั้งแต่เวลา 08.00 – 11.00 ( งดรับบัตร ) รับนัดผู้ป่วยใหม่
-เวลาบ่าย ตั้งแต่เวลา 13.00 – 15.00 ( งดรับบัตร ) รับนัดผู้ป่วยใหม่
นอกเวลาราชการ วันจันทร์ วันอังคาร วันพฤหัสบดี เวลา 1600- 2000
-เวลา 1600 – 1800 บริการผู้ป่วยนักเรียนนายร้อย (ผู้ป่วยนัด) รับนัดผู้ป่วยใหม่
-เวลา 1800- 1900 บริการผู้ป่วยนัดอื่น ๆ (งดรับบัตร) รับนัดผู้ป่วยใหม่

**วันพุธ และวันศุกร์ งดให้บริการช่วงบ่าย**
เพื่อความสะดวกในการให้บริการทางกายภาพบำบัด ผู้ป่วยกรุณาใช้บริการตามเวลาที่นัดเพื่อไม่ให้ท่านต้องเสียเวลารอ เพราะเราให้บริการผู้ป่วยนัดก่อน

**สอบถามข้อมูลทางกายภาพบำบัด **
โทร037- 393010 – 4 ต่อ 62534

สถานที่ตั้งห้องกายภาพบำบัด กองศัลยกรรมและสูตินรีเวชกรรม รพ.รร.จปร. ตั้งอยู่บริเวณชั้น1รพ.รร.จปร. บริเวณสระน้ำ
กิจกรรมพิเศษ
สนับสนุนกิจกรรมงานเดินวิ่งเขาชะโงกเป็นประจำทุกปี





วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ คือ อะไร

เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ
เอ็นฝ่าเท้าอักเสบหมายถึงเอ็นที่ยึดระหว่างส้นเท้าและกรดูกนิ้วเกิดการอักเสบทำให้ปวดฝ่าเท้าเมื่อตื่นลุกขึ้นในตอนเช้าและก้าวเท้าลงพื้น และเกิดอาการปวดบริเวณฝ่าเท้าและส้นเท้าแต่หลังจากเดินไป 3-4 ก้าวอาการปวดดีขึ้นแสดงว่าคุณเป็นโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบหรือที่เรียกว่า plantar fasciitis หมายถึงคุณได้ใช้เท้าทำงานมากเกินไปมีการดึงรั้งของเอ็นใต้ฝ่าเท้า การวินิจฉัยทำได้โดยการซักประวัติและตรวจร่างกาย









กลไกการเกิดโรค
เอ็นฝ่าเท้าจะยึดระหว่างส้นเท้าและนิ้วเท้ามีหน้าที่รักษารูปทรงของเท้า และทำหน้าที่เหมือนสปริงสำหรับการลดแรงกระแทกเวลาเดินหรือวิ่ง และยังทำหน้าที่เป็นแรงส่งเมื่อเวลาวิ่ง
โครงสร้างของฝ่าเท้าประกอบไปด้วยเอ็นซึ่งเกาะกับกระดูกส้นเท้า(calcaneus)ไปยังนิ้วเท้าเราเรียกเอ็นนี้ว่า planta fascia เอ็นฝ่าเท้ามีหน้าที่รักษารูปทรงของเท้า และทำหน้าที่เหมือนสปริงสำหรับการลดแรงกระแทกเวลาเดินหรือวิ่ง และยังทำหน้าที่เป็นแรงส่งเมื่อเวลาวิ่ง
อลงมาดูภาพแสดงตำแหน่งของเอ็นฝ่าเท้าซึ่งเปรียบเสมือนสปริง เอ็นนี้จะได้รับแรงยึดมากที่สุดในขณะที่เดินเมื่อนิ้วหัวแม่เท่ากำลังเหยียดสุดๆ บริเวณที่ได้รับแรงดึงมากที่สุดคือตำแหน่งที่เอ็นเกาะติดกับกระดูกส้นเท้า ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มกระดูกบริเวณส้นเท้าซึ่งทำให้ปวดเวลายืนหรือเดิน เมื่ออักเสบเรื้อรังก็จะเกิดกระดูกงอก exostosis (bone spur)ซึ่งดังวงกลมในรูป

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค
  • ผู้หญิง
  • น้ำหนักเกิน
  • ทำงานที่ต้องยืนหรือเดินบนพื้นแข็งๆ
  • ออกกำลังกายวิ่งโดยที่ไม่ได้มีการยืดกล้ามเนื้อน่อง
  • ฝ่าเท้าแบน หรือฝ่าเท้าโค้งเกินไป
  • ท่าการเดินผิดไปคือเดินแบบเป็ด
  • การใช้รองเท้าที่ไม่ถูกลักษณะ
อาการ
จะเริ่มต้นด้วยอาการปวดฝ่าเท้าเล็กน้อยแรกๆจะปวดหลังออกกำลังกาย ต่อมาจะปวดเวลาเดินหลังจากตื่นนอนเมื่อเดินไปสักพักอาการปวดจะดีขึ้น แต่หากเป็นมากจะปวดกลางวันร่วมด้วย การตรวจร่างกายพบว่าถ้ากดบริเวณกระดูกส้นเท้าดังรูปจะทำให้เกิดอาการปวดหากไม่รักษา อาจจะทำให้เกิดโรคข้อเท้า เข่าหรือหลังเนื่องจากทำให้การเดินผิดปกติ
การรักษา
  • เมื่อมีอาการปวดให้พักการใช้งานหนักจนกระทั่งอาการปวดดีขึ้น
  • ให้ลดน้ำหนักจนอาการปวดดีขึ้น
  • การผ่าตัดแก้ไขความพิการของเท้าเช่นฝ่าเท้าแบนราบหรือโค้งเกินไป
  • ใช้ผ้าใส่น้ำแช่จนแข็งประคบน้ำแข็งครั้งละ 20 นาทีวันละ 3 ครั้งเพื่อลดอาการอักเสบ
  • แพทย์จะให้ยากลุ่ม NSAID เช่น ibuprofen เพื่อลดการอักเสบบางรายอาจจะต้องให้นาน 6-8 สัปดาห์
  • การฉีดยา steroid จะสงวนไว้ในรายที่ดื้อต่อการรักษาเบื้องต้นเพราะจะทำให้เกิดการอ่อนแอของเอ็นซึ่งอาจจะทำให้เอ็นขาด
  • ใส่รองเท้าที่มีแผ่นรองกันการกระแทกโดยแผ่นดังกล่าวจะหนาด้านในและบางส่วนด้านนอก
  • บริหารเอ็นร้อยหวายและเอ็นฝ่าเท้าที่บ้าน
  • การนวดฝ่าเท้า
ท่าบริหารกล้ามเนื้อและเอ็น
ยืนห่างจากโต๊ะหรือกำแพง 24 นิ้ว ก้าวเท้ามาข้างหน้าหนึ่งก้าว แล้วย่อสะโพกและเข่าลง จะทำให้รู้สึกตึงบริเวณกล้ามเนื้อน่อง เอ็นร้อยหวายและเอ็นฝ่าเท้า ให้ทำแต่ละครั้งนาน 10 วินาทีทำ 20 ครั้ง





  • ยืนห่างกำแพง 24 นิ้วมือยันกำแพง ส้นเท้าทั้งสองข้างติดพื้น โน้มตัวไปข้างหน้าจะมีอาการตึงกล้ามเนื้อน่อง เอ็นร้อยหวายและเอ็นฝ่าเท้า ทำแต่ละครั้งนาน 10 วินาทีทำ 20 ครั้ง
  • ที่มาข้อมูล จากhttp://www.siamhealth.net/public_html/Disease/rheumatoid/footcon/plantarfasciitis.htm

นิ้วล็อค ภัยเงียบที่คุณควรรู้

นิ้วล็อค ภัยเงียบที่คุณควรรู้

 

นิ้วล็อค
นิ้วล็อค
นิ้วล็อค



ภาพประกอบจาก lockfinger.com
เคยไหม... อยู่ดีๆ ก็ขยับนิ้วไม่ได้ จะงอก็ไม่ได้ จะยืดก็ไม่ได้ หรืออยู่ดีๆ นิ้วก็เกิดอาการกระตุกขึ้นมาซะอย่างงั้น… และนิ้วที่เป็นบ่อยคือนิ้วนาง นิ้วกลาง และนิ้วหัวแม่มือ (แต่จริงๆ แล้วก็สามารถเกิดได้กับทุกนิ้ว) แถมพอจะกระดิกนิ้วก็กระดิกไม่ได้อีก เพราะมันทั้งตึงทั้งเจ็บปวดมากๆ ซึ่งอาการเหล่านี้เรียกว่า "นิ้วล็อค" นั่นเอง

            "นิ้วล็อค" เป็นภาษาชาวบ้านที่เรียกกันง่ายๆ ตามอาการที่เป็น คือผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนนิ้วล็อค นั่นคือ กำมืองอนิ้วได้ แต่เวลาเหยียดนิ้วออก นิ้วใดนิ้วหนึ่งเกิดเหยียดไม่ออกเหมือนโดนล็อคไว้ จึงเป็นที่มาของคำว่า "นิ้วล็อค" ถ้าเรียกกันให้ถูกต้องแล้ว โรคนี้ต้องเรียกว่า "โรคนิ้วเหนี่ยวไกปืน" ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Trigger Finger" เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของเยื้อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้ว ซึ่งอยู่ที่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว มีโอกาสเป็นได้ทุกนิ้ว ผู้ป่วยบางคนอาจจะเป็น 2 หรือ 3 นิ้วพร้อมกัน (อูย... คงจะปวดน่าดู) 

            อย่างไรก็ตาม โรคนี้พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และอายุที่พบบ่อยอยู่ที่ประมาณ 40 - 50 ปี โดยมากจะเกิดกับผู้ที่ใช้งานมือในลักษณะเกร็งนิ้วบ่อยๆ เช่น การทำงานบ้านต่างๆ การบิดผ้า การหิ้วของหนัก การใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ ตัดผ้า การยกของหนักต่างๆ เป็นต้น

  อาการของโรคนี้แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 

            1. ระยะแรก มีอาการปวดเป็นอาการหลัก โดยจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ และจะมีอาการปวดมากขึ้น ถ้าเอานิ้วกดบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้า แต่ยังไม่มีอาการติดสะดุด

             2. ระยะที่สอง มีอาการสะดุด (triggering) เป็นอาการหลัก และอาการปวดก็มักจะเพิ่มมากขึ้นด้วย เวลาขยับนิ้ว งอ และเหยียดนิ้ว จะมีการสะดุดจนรู้สึกได้

             3. ระยะที่สาม มีอาการติดล็อคเป็นอาการหลัก โดยเมื่องอนิ้วลงไปแล้ว จะติดล็อคจนไม่สามารถเหยียดนิ้วออกเองได้ ต้องเอามืออีกข้างมาช่วยแกะ หรืออาจมีอาการมากขึ้นจนไม่สามารถงอนิ้วลงได้เอง

             4. ระยะที่สี่ มีการอักเสบบวมมาก จนนิ้วบวมติดอยู่ในท่างอเล็กน้อย ไม่สามารถเหยียดให้ตรงได้ ถ้าใช้มือมาช่วยเหยียดจะปวดมาก

วิธีป้องกัน "โรคนิ้วล็อค"             1. ไม่หิ้วของหนัก เช่น ถุงพลาสติก ตะกร้า ถังน้ำ ถ้าจำเป็นต้องหิ้ว ควรใช้ผ้าขนหนูรองและหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ แทนที่จะให้น้ำหนักตกที่ข้อนิ้วมือ หรือใช้วิธีการอุ้มประคองช่วยลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือได้

            2. ไม่ควรบิดหรือซักผ้าด้วยมือเปล่าจำนวนมากๆ และไม่ควรบิดผ้าให้แห้งสนิท เพราะจะยึดปลอกหุ้มเอ็นจนคราก และเป็นจุดเริ่มต้นของโรคนิ้วล็อค

            3. นักกอล์ฟที่ต้องตีแรง ตีไกล ควรใส่ถุงมือ หรือใช้ผ้าสักหลาดหุ้มด้ามจับให้หนาและนุ่มขึ้น เพื่อลดแรงปะทะ และไม่ควรไดร์กอล์ฟต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ 

            4. เวลาทำงานที่ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่าง ควรระวังการกำหรือบดเครื่องมือทุ่นแรง เช่น ไขควง เลื่อย ค้อน ฯลฯ ควรใส่ถุงมือหรือห่อหุ้มด้ามจับให้ใหญ่และนุ่มขึ้น

            5. ชาวสวนควรระวังเรื่องการตัดกิ่งไม้ด้วยกรรไกร หรืออื่นๆ ที่ใช้แรงมือควรใส่ถุงมือเพื่อลดการบาดเจ็บของปลอกเอ็นกับเส้นเอ็น และควรใช้สายยางรดน้ำต้นไม้แทนการหิ้วถังน้ำ

            6. คนที่ยกของหนักๆ เป็นประจำ เช่นคนส่งน้ำขวด ถังแก๊ส แม่ครัวพ่อครัว ควรหลีกเลี่ยงการยกมือเปล่า ควรมีผ้านุ่มๆ มารองจับขณะยก และใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถเข็น รถลาก

            7. หากจำเป็นต้องทำงานที่ต้องใช้มือกำ หยิบ บีบ เครื่องมือเป็นเวลานานๆ ควรใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น ใช้ผ้าห่อที่จับให้หนานุ่ม เช่น ใช้ผ้าห่อด้ามจับตะหลิวในอาชีพแม่ครัวพ่อครัว

            8. งานบางอย่างต้องใช้เวลาทำงานนานต่อเนื่อง ทำให้มือเมื่อยล้าหรือระบม ควรพักมือเป็นระยะๆ เช่นทำ 45 นาที ควรจะพักมือสัก 10 นาที

  สำหรับวิธีการรักษา "โรคนิ้วล็อค" ประกอบไปด้วย... 

            1. การใช้ยารับประทาน เพื่อลดการอักเสบ ลดบวม และลดอาการปวด ร่วมกับพักการใช้มือ

            2. การใช้วิธีทางกายภาพบำบัด ได้แก่ การใช้เครื่องดามนิ้วมือ การนวดเบาๆ การใช้ความร้อนประคบ และการออกกำลังกายเหยียดนิ้ว โดยการรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัด อาจใช้ร่วมกันได้ และมักใช้ได้ผลดีเมื่อมีอาการของโรคในระยะแรก และระยะที่สอง

            3. การฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ เพื่อลดการอักเสบ ลดปวดและลดบวม เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างมาก ส่วนมากมักจะหายเจ็บ บางรายอาการติดสะดุดจะดีขึ้น แต่การฉีดยามักถือว่าเป็นการรักษาแบบชั่วคราว และข้อจำกัดก็คือ ไม่ควรฉีดยาเกิด 2 หรือ 3 ครั้ง ต่อ 1 นิ้วที่เป็นโรค การรักษาโดยการฉีดยานี้สามารถใช้ได้กับอาการของโรคตั้งแต่ระยะแรกจนถึงระยะท้าย

            4. การรักษาโดยการผ่าตัด ถือว่าเป็นการรักษาที่ดีที่สุดในแง่ที่จะไม่ทำให้กลับมาเป็นโรคอีก หลักในการผ่าตัด คือ ตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่หนาอยู่ให้เปิดกว้างออก เพื่อให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านได้โดยสะดวก ไม่ติดขัดหรือสะดุดอีก ทั้งนี้ การผ่าตัดแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ การผ่าตัดแบบเปิด เป็นวิธีมาตรฐาน ที่ควรทำในห้องผ่าตัด โดยฉีดยาชาเฉพาะที่ผ่าตัดเสร็จก็กลับบ้านได้ หลังผ่าตัดหลีกเลี่ยงการใช้งานหนัก และการสัมผัสนิ้ว ประมาณ 2 สัปดาห์

            อีกวิธีเป็นการผ่าตัดแบบปิด โดยการใช้เข็มเขี่ยหรือสะกิดปลอกหุ้มเอ็นออก โดยแทบไม่มีแผลให้เห็น โดยวิธีนี้อาจมีผลแทรกซ้อนได้ถ้าไปเขี่ยหรือสะกิดถูกเส้นประสาท ดังนั้น จึงไม่แนะนำสำหรับนิ้วที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเส้นประสาทสูง คือ นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ และการผ่าตัดแบบปิดนี้ใช้ได้สำหรับคนไข้ที่มีอาการของโรคตั้งแต่ระยะที่สองขึ้นไป
            อย่างไรก็ตาม แม้โรคนิ้วล็อคจะเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ แต่เพื่อนๆ ก็ควรป้องกันไว้ดีกว่าแก้ตามวิธีที่เรานำมาแนะนำนะคะ

           

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก
-เรียบเรียงโดยกระปุกดอทคอม

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

มารู้จักโรคกระดูกคอกันเถอะ

โรคปวดคอ

เป็นที่ทราบกันดีว่า คนรุ่นใหม่มีความเสี่ยงที่จะต้องทำงานประเภท "ก้มๆ เงยๆ" มากขึ้น เช่น คนทำงานก่อสร้าง ช่าง หรือคนทำงานในโรงงานต้องเงยหน้าทำงาน (เช่น ตอกตะปู ติดตั้งหลอดไฟ เก็บของขั้นชั้นวางของ ฯลฯ) ฯลฯ
ตรงกันข้ามคนทำงานออฟฟิซหรือสำนักงานตลอดจนชาวไร่ชาวนากลับต้องก้มหน้าก้มตาทำงาน พิมพ์งาน... ภาวะการทำงานก้มๆ เงยๆ วันละนานๆ มีส่วนทำให้เสี่ยงต่ออาการปวดคอ เมื่อยคอ เมื่อยไหล่ หรือบางทีอาจจะปวดหัวได้ (บางครั้งความเจ็บป่วยที่คออาจทำให้ปวดหัวบริเวณท้ายทอยได้)
...

ภาพกระดูกสันหลังส่วนคอ > [ Wikipedia ]
  • ส่วนสีเขียวเป็นหมอนรองกระดูกสันหลังที่บอบบาง และอาจจะแตกหรือปลิ้นได้ โดยเฉพาะกระดูกสันหลังส่วนเอว
  • ส่วนสีน้ำตาลอ่อนเป็นกระดูกสันหลัง
  • ส่วนสีม่วงเป็นเส้นประสาทไขสันหลังที่อาจถูกส่วนของกระดูกเสื่อมที่ยื่นออกมาคล้ายหนามกด หรือส่วนของหมอนรองกระดูกสันหลังที่แตกหรือปลิ้นออกกดได้
...
สำนักพิมพ์หมอชาวบ้านตีพิมพ์หนังสือเรื่อง "ปวดคอ" เขียนโดยท่านอาจารย์ รศ.สุรศักดิ์ ศรีสุข, รศ.พญ.เล็ก ปริวิสุทธิ์, และรศ.นวลอนงค์ ชัยปิยะพร เพื่อส่งเสริมสุขภาพคนไทย
ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
...
ความแข็งแรงของคอคนเราต้องอาศัยกระดูกที่แข็งแรง ซึ่งเปรียบเสมือนเสาวิทยุที่อยู่ตรงกลาง ด้านรอบกระดูกมีกล้ามเนื้อและเอ็นสำคัญๆ พยุงอยู่ 4 ด้าน เปรียบคล้ายลวดสลิงที่ขึงอยู่รอบๆ เสาวิทยุ
การที่คอคนเราจะแข็งแรงได้จึงต้องอาศัยทั้งกระดูก และโครงสร้าง (กล้ามเนื้อและเอ็น) 4 ทิศทางช่วยพยุงไว้ได้แก่ ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านซ้าย และด้านขวา
...
การบริหารกล้ามเนื้อและเอ็นที่พยุงลำคอไว้อาศัยการออกแรง-ออกกำลัง 3 รูปแบบได้แก่
(1). การบริหารแบบแอโรบิค (aerobic exercise) เพื่อสร้างความแข็งแรงพื้นฐาน เช่น เดิน เดินเร็ว เดินขึ้นลงบันไดตามโอกาส วิ่งเหยาะ(จอกกิ้ง) ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ ฯลฯ อาจารย์ท่านแนะนำเคล็ดไม่ลับว่า เวลาออกกำลังให้พยายามรักษา "คอ" ไว้ให้ตรง จึงจะได้ผลในการป้องกันอาการปวดคอได้ดีที่สุด
...
(2). การยืดเส้น หรือการบริหารประเภท "ยืด-เหยียด (stretching exercise)" เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น
  • ธรรมชาติของสิ่งที่ยืดหยุ่นได้นั้นมักจะไม่เปราะ และไม่แตกง่าย... ชีวิตคนเราก็คล้ายๆ กัน
...
(3). การบริหารเพื่อสร้างความแข็งแรง (strengthening exercise)
  • การบริหารเพื่อสร้างความแข็งแรงช่วยให้โครงสร้างแข็งแรง จึงนิยมเรียกการบริหารกลุ่มนี้ว่า เป็นการบริหารโครงสร้าง (core exercise) ไปด้วย เนื่องจากถ้าโครงสร้างที่พยุงหรือเจ้าลวดสลิง (กล้ามเนื้อและเอ็นลำคอ)แข็งแรง โครงสร้างหลักหรือเจ้าเสาวิทยุ (กระดูกคอ) ก็จะพลอยแข็งแรงมั่นคงไปด้วย
...
ต่อไปจะขอเข้าสู่การบริหารชุดแรกคือ การยืดเหยียดหรือยืดเส้น (stretching exercise) 4 ทิศ (หน้า-หลัง-ซ้าย-ขวา)
ทุกท่าให้ทำช้าๆ ทำแล้วค้างไว้ประมาณ 20 วินาที หรือนับ 1-20 ช้าๆ ขากลับก็ให้เคลื่อนลำคอกลับช้าๆ การรักษาสุขภาพนั้นอาศัยความอ่อนนุ่ม ทะนุถนอม ไม่ใช่ความรุนแรง ท่าทั้ง 4 ได้แก่
...
(1).  ท่ายืดเหยียดลำคอด้านข้างดังภาพ
...
(2).  ท่ายืดเหยียดลำคอ หันซ้าย-ขวาดังภาพ
...
(3).  ท่ายืดเหยียดก้มเงยลำคอดังภาพ
ต่อไปเป็นท่าบริหารเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง 4 ท่าได้แก่
(1). ท่าเสริมสร้างความแข็งแรงลำคอด้านหน้า
...
(2). ท่าเสริมสร้างความแข็งแรงลำคอด้านหลัง
(3). ท่าเสริมสร้างความแข็งแรงลำคอด้านข้าง (กล้ามเนื้อเอียงคอ)
  • ท่านี้เริ่มต้นจากการยืนหรือนั่ง คอตรง
  • ใช้มือข้างหนึ่งวางไว้เหนือใบหู (ฝ่ามืออยู่ระดับสูงกว่าใบหู)
  • ออกแรงดันดันหัวไปด้านตรงข้าม
  • เกร็งคอต้านไว้
  • ให้ทำท่านี้ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา
...
(3). ท่าเสริมสร้างความแข็งแรงลำคอด้านข้าง (กล้ามเนื้อหันหน้า)
...
ท่าบริหารเหล่านี้ควรทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรือดีที่สุดคือ ท่าบริหารยืดเหยียดให้ทำทุกวัน ส่วนท่าบริหารเสริมสร้างความแข็งแรงทำวันเว้นวัน
และอย่าลืมว่า ถ้าจะดูโทรทัศน์หรืออ่านหนังสือ... อย่านอนดู เนื่องจากคอจะเอียง ทำให้กระดูกคอเสื่อมเร็ว กล้ามเนื้อคอต้องเกร็งตัวนานๆ ทำให้เกิดความเมื่อยล้า เมื่อยคอ ปวดหัว หรือวิงเวียนศีรษะได้
...
อาจารย์แพทย์แห่งสถาบันเมโยคลินิกแนะนำวิธีป้องกันปวดคอง่ายๆ 6 วิธีได้แก่
(1). อย่านั่งนานเกิน > ให้พักหรือเบรคทุกๆ 1-2 ชั่วโมง ควรลุกไปเดิน ยืน หรือยืดเส้นยืดสายมากกว่านั่งติดต่อกันนานๆ
...
(2). ถ้าใช้คอมพิวเตอร์นานๆ > ควรจัดให้ส่วนบนของจออยู่ใกล้ระดับสายตา อย่าให้ต่ำเกิน เพื่อจะได้ไม่ต้องก้มคอนานๆ
(3). อย่าเอียงคอพูดโทรศัพท์ > ให้ใช้หูฟังหรือเครื่องต่อบลูทูธ เพื่อลดความเมื่อยล้าของลำคอ
...
(4). ยืดเส้นยืดสายเป็นประจำ > ดีที่สุดคือ วันละ 2 ครั้ง น้อยที่สุดคือ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
(5). บริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง > ทำตามท่าบริหารในบทความตอนนี้ได้เลย
...
(6). อย่านอนคว่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่านอนคว่ำดู TV > ให้นั่งเก้าอี้ดูแทน หรือจะขี่จักรยานออกกำลังไปดูไปได้ยิ่งดี จะได้ออกกำลังไปพร้อมๆ กัน
ท่านอนที่ดีกับสุขภาพกระดูกสันหลังมี 2 ท่าได้แก่ ท่านอนตะแคงกอดหมอนข้างขนาดเล็ก และท่านอนหงายมีหมอนขนาดเล็กรองใต้เข่า
...
วิธีที่ดีมากๆ คือ นั่งดูโทรทัศน์ในท่านั่งเก้าอี้ เหยียดขาให้เข่าเกือบๆ ตรงไปทางด้านหน้า เตะขาคล้ายๆ เวลาคนว่ายน้ำ ให้ขาข้างหนึ่งขึ้น ขาอีกข้างลง แบบนี้จะทำให้กล้ามเนื้อหน้าขาแข็งแรง ข้อเข่าได้รับสารอาหารเพิ่มขึ้น ทำบ่อยๆ ข้อเข่าจะแข็งแรง
อย่าลืมว่า เรื่องปวดคอ ปวดไหล่ ปวดหลัง หรือปวดเมื่อยตามร่างกายนี้... ไม่ใช่หมอจะช่วยพวกเราได้เสมอไป ตัวเราต้องช่วยตัวเราด้วย
...
นอกจากนั้นนักกายภาพบำบัดท่านมีวิธีการดูแลรักษาดีๆ มากมาย จึงควรหาโอกาสปรึกษานักภายภาพบำบัด ควรปรึกษาควบคู่กับการรักษาทางยาจะมีอาการท่ดีขึ้นอย่างรวดเร้ว  อย่ารอจนอาการไม่ดีขึ้นนะคะ


การรักษาทางกายภาพบำบัดมี  ดังนี้ ( ขึ้นอยู่กับการตรวจประเมินร่างกายของนักกายภาพบำบัด)
1.การรักษาด้วยการประคบความร้อน
2.การรักษาด้วยคลื่นอัลตร้าซาว์ด


3.การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นลดปวด
4.การรักษาด้วยเครื่องดึงคอ ในรายที่มีอาการกดทับเส้นประสาท
5.การรักษาด้วยการออกกำลังกาย บริหารเพิ่มความแข็งแรงที่ได้กล่าวไปแล้ว

ที่มา ของเนื้อหาขอบคุณทุกท่านที่ให้สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต